ReadyPlanet.com


ข่าว บ้านกรูด - บางสะพาน


 "จินตนา" ศักดิ์ศรีนักสู้บางสะพาน...ย่างเข้าสู่วันที่ 4 กับการถูกจำคุกที่เรือนจำ จ.ประจวบ คีรีขันธ์ ของ จินตนา แก้วขาว "นักสู้บ้านกรูด" หลังจากเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ศาลฎีกาได้ตัดสินจำคุกนางจินตนา แก้วขาว 4 เดือน ไม่รอลงอาญา ข้อหาบุกรุกที่ดิน ซึ่งสืบเนื่องจากคดีล้มโต๊ะจีนงานเลี้ยงของบริษัท ยูเนี่ยน พาวเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด ขนาด 1,400 เมกะวัตต์ เนื้อที่ 1,200 ไร่ ในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จินตนา แก้วขาว หรือ "พี่หน่อย" เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม 2505 เป็นชาวหัวหินโดยกำเนิด ปัจจุบันอายุ 49 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษาปลาย (ม.ศ.5) ที่โรงเรียนหัวหิน เริ่มทำงานครั้งแรก ในตำแหน่งครูอนุบาล ดรุณศึกษา พ.ศ.2521-2525 ครูอัตราจ้างสอนอนุบาล โรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร พ.ศ.2528-2529 ปัจจุบันประกอบอาชีพค้าขาย พร้อมทั้งเป็นประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมบ้านกรูด  มาตั้งแต่ พ.ศ.2542

"จินตนา" ถือเป็นหัวเรี่ยวหัว แรงสำคัญในการต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ ในการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด ร่วมกับ "วีรบุรุษบ่อนอก" อย่าง "เจริญ วัดอักษร"แกนนำคนสำคัญที่ถูกยิงเสียชีวิต เพื่อต่อสู้ปกป้องอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นชุมชน

ในขณะที่ชีวิตแต่ละวันของ "จินตนา" ก็มิได้แตกต่างกับ "เจริญ" ที่ถูกปองร้าย ข่มขู่ต่างๆ นานา แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องแผ่นดินเกิดของตัวเอง "จินตนา" จึงกลายเป็นหญิงเหล็กที่ปักหลักสู้กับทุนใหญ่ในพื้นที่ ร่วมกับการทำงานขยายเครือข่ายชาวบ้านให้ร่วมมือกันทั้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จน "เสื้อเขียวบางสะพาน" ถูกกล่าวขานกันทั่วประเทศ ว่าเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชาวบ้านที่รักความเป็นธรรม ลุกขึ้นสู้รักษาสิทธิ์ของตัวเองอย่างมีศักดิ์ศรีและไม่ยอมจำนน

แม้วันนี้ "พี่หน่อย" จินตนา จะถูกจำคุกทางร่างกายเป็นเวลา 4 เดือน แต่หัวใจไม่เคยหมดหวัง เธอยอม "รับสภาพ"ได้ แม้จะต้องถูก "แลก" ด้วยอิสรภาพ และมันคุ้มที่ได้คืนความเป็นคน เหลือชุมชนไว้ให้ลูกหลาน ไม่มีน้ำตาแต่ยังมีรอยยิ้มแบ่งปัน ต้อนรับเพื่อนเครือข่ายชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอย่างไม่เป็นธรรมทั่วประเทศ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเยี่ยมเยียนไม่ขาดสาย ที่เรือนจำประจวบคีรีขันธ์

เธอบอกว่า "ความสุขความทุกข์ของพี่อยู่ที่คนจน ความสำเร็จของมวลชนที่รู้เท่าทันการเอารัดเอาเปรียบของทั้งอำนาจทุนและรัฐ นั้นถือว่าเป็นสุขของชีวิตพี่มากที่สุด".



ผู้ตั้งกระทู้ นักสะสมข่าว บางสะพาน บ้านกรูด :: วันที่ลงประกาศ 2011-12-12 06:36:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3318391)

คอลัมน์: บทความพิเศษ: "จินตนา" 4 เดือน แลกสิทธิชุมชน-สิทธิสิ่งแวดล้อม
นายศรีสุวรรณ จรรยา
เลขาธิการสมัชชาองค์กรเอกชน
ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
วันที่ 11 ต.ค.54 เหมือนฟ้าผ่ามากลางใจของนักอนุรักษ์ทั่วประเทศ เมื่อศาลประจวบคีรีขันธ์ ได้อ่านคำพิพากษาจำคุก "คุณจินตนา แก้วขาว" แกนนำนักอนุรักษ์บ้านกรูด 4 เดือน ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ออกมาตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.53 ซึ่งประกอบด้วยองค์คณะท่านผู้พิพากษา นายสุรศักดิ์ สุวรรณประกร, นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ และนายสุรพันธุ์ ละอองมณี ไม่รับข้อฎีกาเพื่อวินิจฉัยทางคดี แต่ศาลได้เมตตาปรับลดโทษลงเหลือให้จำคุกเพียงแค่ 4 เดือน ตามที่มีเหตุอันควรบรรเทาโทษได้ นั่นคือ การเข้ามอบตัวแต่โดยดีโดยไม่หลบหนี

คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเมื่อวันที่ 30 ก.ย.46 ยกฟ้อง เพราะพยานหลักฐานที่อัยการนำมาสืบศาลฟังไม่ได้ว่ามีน้ำหนักความผิดจริง ต่อมามีการอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พลิกคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ส.ค.48 ให้จำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 และ 83 ซึ่งเป็นความผิดฐานบุกรุก โดยมีอาวุธ (น้ำปลาวาฬ) หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตลอดเวลากว่า 10 ปีของการต่อสู้ นับแต่วันที่เกิดเหตุพิพาททางคดี คือวันที่ 13 ม.ค.44 ที่จินตนาและชาวบ้านกรูดได้บุกเข้าไปในงานเลี้ยงครบรอบ 3 ปี โครงการโรงไฟฟ้าบ้านกรูด เพื่อใช้สิทธิในการปกป้องวิถีชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 กับนโยบายของรัฐบาล และผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัท ยูเนียนเพาเวอร์ดีเวลลอปเมน์ จำกัด แต่การบุกรุกเข้าไปในสถานที่อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่เขาครอบครองโดยปกติสุข ก็ย่อมจะต้องมีความผิดตามกฎหมายเป็นธรรมดา

แต่ถ้าเรามองกันแต่เฉพาะข้อกฎหมาย โดยไม่ดูบริบทขององค์รวมหรือเหตุปัจจัยแห่งที่มาของการพิพาท และผลประโยชน์ได้เสียที่จะตกแก่สาธารณะมิใช่เรื่องส่วนตัวแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นธรรมนักต่อคุณจินตนาและกระบวนการต่อสู้ของภาคประชาสังคม

แม้คำพิพากษาดังกล่าวจะนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างรุนแรงของพี่น้องชาวบ้านและนักอนุรักษ์ทั่วประเทศก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยและพิพากษาแล้วก็ต้องน้อมรับ แม้จะตะขิดตะขวงใจอย่างไรก็ตาม

แต่คำพิพากษาของศาลทั้ง 3 ศาลก็ทำให้เราเห็นรูปแบบและปรากฏการณ์ของกระบวนการยุติธรรมกันชัดแจ้งมากยิ่งขึ้นว่าเป็นเช่นไร และต่อไปนี้จะเป็นการถอดบทเรียนของการต่อสู้ของภาคประชาชนในทุกท้องถิ่น ในการปกป้องสิทธิของชาวบ้านและชุมชนที่มีอยู่แต่เดิมแล้วโดยธรรมชาติ โดยมิมีใครมาหักหาญน้ำใจหรือเปลี่ยนแปลงได้เพียงเพราะกระบวนการทางนโยบายสาธารณะของนักการเมืองจอมปลอม ที่ไม่ยอมรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือเดือดร้อนต่อประชาชน ที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐ

เชื่อว่า 120 วัน หรือ 4 เดือน ที่จินตนาต้องอยู่ในคุกในเรือนจำ แต่กระบวนการทางสังคม จะแพร่กระจายก่อเกิดการประสานงานกันเป็นเครือข่ายจะแน่นแฟ้นขึ้น เพราะจะมีกลุ่มกัลยาณมิตรแวะเวียนไปเยี่ยมเยือนเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและกระบวนการต่อสู้กับคุณจินตนาอยู่แทบทุกวัน

ในส่วนของชุมชนคนบ้านกรูด ก็คงจะมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอด 120 วัน เพื่อย้ำเตือน "สิทธิทางธรรมชาติ" โดยชอบของชาวบ้าน เพื่อประจานหรือสะท้อนให้อำนาจรัฐเห็นว่า กระบวนการชาวบ้านไม่เคยสะทกสะท้านต่ออำนาจรัฐและอำนาจทุน ที่เข้ามาบิดเบือนเจตนารมณ์ของกฎหมายได้

"เงิน" อาจจะซื้อทุกสิ่งทุกอย่างอะไรก็ได้ แต่คงจะซื้อสิทธิและอุดมการณ์ของชาวบ้านกรูดคงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ต่างๆ ที่จะลงไปก่อสร้างที่บ้านกรูด-บ่อนอกคงได้เกิดแล้วเป็นแน่

คุณจินตนาให้สัมภาษณ์อย่างแหลมคมก่อนเดินเข้าเรือนจำอย่างมีศักดิ์ศรีว่า "แค่ติดคุกยังมีวันออก เราไม่ได้ถูกยิงทิ้ง ไม่ได้เสียชีวิตเหมือนการต่อสู้ของนายเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก แกนนำต้านโรงไฟฟ้าบ่อนอก แต่ไม่ทราบว่าในระหว่างที่ติดคุกจะต้องเจออะไรบ้าง และขอไม่ให้มีการอภัยโทษ ขอให้สังคมรับรู้บทบาทของการต่อสู้ และขอให้มองเรื่องความเป็นธรรมมากกว่าการใช้กฎหมายมาจัดการกับแกนนำเหมือนกลุ่มทุน"

เป็นการให้สัมภาษณ์ที่สะท้อนให้รัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมทราบว่า กระบวนการการต่อสู้ของภาคประชาชนนั้น เปิดเผย ตรงไปตรงมา บนฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ภายใต้การคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ แต่หน่วยงานของรัฐและกฎหมายลูกต่างหากที่ไร้ประสิทธิภาพในการปกป้องวิถีชีวิตของชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะความไร้ประสิทธิภาพในการปกป้องแกนนำชาวบ้าน

ตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เราต้องสูญเสียแกนนำนักอนุรักษ์ไปแล้วกว่า 20 คน จากการพิฆาตของกลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์หรือกลุ่มทุน โดยที่ส่วนใหญ่หน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ไม่สามารถให้การคุ้มครองได้ ทั้งๆ ที่แกนนำเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริสุทธิ์ กระทำการแทนชาวบ้าน เพราะต่างมีอุดมการณ์เพื่อปกป้องสิทธิชุมชน-สิทธิทางสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งสิ้น อาทิ

อาจารย์บุญทวี อุปการะกุล ผู้นำการรณรงค์คัดค้านมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม จ.ลำพูน, ครูประเวียน บุญหนัก ผู้นำการคัดค้านโรงโม่หิน จ.เลย, นายวินัย จันทมโน นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่คัดค้านนายทุนตัดไม้ทำลายป่าบ้านน้ำหรา อ.ควนกาหลง จ.สตูล, นายทองอินทร์ แก้ววัตตา แกนนำคัดค้านการสร้างโรงงานกำจัดกากสารอุตสาหกรรม จ.ระยอง, นายทุนหรือจุน บุญขุนทด แกนนำการคัดค้านการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ, กำนันทองม้วน คำแจ่ม และนายสม หอมพรหม ผู้นำการคัดค้านการให้สัมปทานโรงโม่หิน จ.หนองบัวลำภู, นายอารีย์ สงเคราะห์ ผู้นำการต่อต้านการบุกรุกป่าและรณรงค์ปกป้องผืนป่าต้นน้ำคลองคราม จ.สุราษฎร์ธานี, นายจุรินทร์ ราชพล นักอนุรักษ์ที่ต่อสู้คัดค้านการทำลายพื้นที่ป่าชายเลน ต.บ้านป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต, นายนรินทร์ โพธิ์แดง แกนนำต่อต้านโรงโม่หินของนักการเมืองระดับชาติในเขตพื้นที่ จ.ระยอง, นายพิทักษ์ โตนวุธ แกนนำชาวบ้านลุ่มน้ำชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ลุกขึ้นต่อสู้คัดค้านโรงโม่หินของนักการเมืองระดับชาติที่บุกรุกป่าอนุรักษ์, นายแก้ว ปินปันมา แกนนำชาวบ้านที่เข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ขัดแย้งกับนายทุน

นายสุวัฒน์ วงศ์ปิยะสถิตย์ ชาว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ แกนนำชาวบ้านคัดค้านโครงการกำจัดขยะราชาเทวะ, นายสมพร ชนะพล แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำกระแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี คัดค้านการสร้างเขื่อนคลองกระแดะ, นายบุญสม นิ่มน้อย แกนนำกลุ่มอนุรักษ์และคัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงแยกคอนเดนเสทในพื้นที่ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี, นายปรีชา ทองแป้น

สารวัตรกำนัน ต.ควนกรด อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช แกนนำเรียกร้องสิทธิชุมชนจากโครงการก่อสร้างบำบัดน้ำเสียเทศบาล ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง นครศรีธรรมราช, นายบุญฤทธิ์ ชาญณรงค์ แกนนำชาวบ้านเรียกร้องสิทธิชุมชนและต่อต้านการค้าไม้เถื่อนตำบลคลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี, นายบุญยงค์ อินต๊ะวงศ์ แกนนำชาวบ้านร่องห้า ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ลุกขึ้นต่อสู้กับโรงโม่หินดอยแม่ออกรูของนักการเมืองระดับชาติที่บุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ, นายคำปัน สุกใส แกนนำชาวบ้านป่าชุมชนเชียงดาว ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ลุกขึ้นต่อสู้ขัดขวางการบุกรุกพื้นที่ป่าชุมชน, นายสำเนา ศรีสงคราม ประธานชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น แกนนำชาวบ้านต่อสู้กับโรงงานที่ทำให้แม่น้ำพองเน่าเสีย

นายเจริญ วัดอักษร แกนนำชาวบ้านบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเรียกร้องให้ตรวจสอบการบุกรุกที่สาธารณะของนายทุนผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น, นายสุพล ศิริจันทร์ แกนนำชาวบ้านเครือข่ายป่าชุมชนแม่มอก จ.ลำปาง ต่อสู้ขัดขวางขบวนการค้าไม้เถื่อน, นางพักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น แกนนำชาวบ้านหัวกระบือ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนทราย, พระสุพจน์ สุวโจ พระนักปฏิบัติธรรม ณ สวนเมตตาธรรม อ. ฝาง จ.เชียงใหม่ พยายามต่อสู้กับนายทุนที่ต้องการฮุบที่ดินสถานปฏิบัติธรรม, นายทองนาค เสวกจินดา แกนนำคัดค้านโรงงานถ่านหิน ต.ท่าทราย จ.สมุทรสาคร

บุคคลเหล่านี้ล้วนต่อสู้ตามสิทธิที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ตามกระบวนการยุติธรรม แต่ก็ต้องมาถูกปองร้ายทำลายชีวิตไปเสียก่อนวัยอันสมควร โดยที่กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ แต่สิ่งที่แกนนำเหล่านี้ได้จุดประกายการต่อสู้ไว้นั้น ได้สร้างอานิสงส์และคุณูปการแผ่กระจายเป็นต้นกล้าใหม่ที่ไม่มีวันย่อท้อให้กับแกนนำนักอนุรักษ์ทั่วประเทศ เหมือนดั่ง "ตายสิบ...เกิดแสน" แล้ว

การจำคุกจินตนา จึงเป็นเพียงแค่บทเรียนขั้นประถมของกระบวนการต่อสู้เพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์กันชั่วลูกหลาน ตราบใดที่อำนาจรัฐ อำนาจทุน และความอยุติธรรมยังเป็น 2 มาตรฐานเต็มแผ่นดินไทย...การต่อสู้ของชาวบ้านไม่มีทางสิ้นสุดลงได้เพราะคำพิพากษาของศาล...

ผู้แสดงความคิดเห็น นักสะสมข่าว บางสัพาน บ้านกรูด วันที่ตอบ 2011-12-12 06:39:44


ความคิดเห็นที่ 2 (3318392)
ภาพข่าว: เครือสหวิริยามอบเงินโครงการ “ว่าย ปั่น วิ่ง แบ่งปันผู้ด้อยโอกาส” สนับสนุนชมรมดนตรีเยาวชนของเทศบาลตำบลบ้านกรูด

สหวิริยาสตีลอินดัสตรี

 

นายธงชัย เพชรสกุลทอง นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกรูด นายณรงค์พงศ์ โพธิสมบัติ ที่ปรึกษาเครือสหวิริยา เป็นตัวแทนมอบเงินจากโครงการ “ว่าย ปั่น วิ่ง แบ่งปันผู้ด้อยโอกาส ” จำนวน 20,000 บาท สนับสนุนชมรมดนตรีเทศบาลตำบลบ้านกรูด ซึ่งเป็นการร่วมบริจาคของพนักงานบริษัทในเครือสหวิริยาและผู้ร่วมการแข่งขัน “ฅนเหล็กบางสะพาน ไตรกีฬานานาชาติ 2554 ” เพื่อใช้ในการซื้ออุปกรณ์ดนตรี ส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ป้องกันให้ห่างไกลจากยาเสพติด และสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน เมื่อเร็วๆนี้

ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักประชาสัมพันธ์ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
ผู้แสดงความคิดเห็น ข่าวบางสะพาน บ้านกรูด วันที่ตอบ 2011-12-12 06:42:21


ความคิดเห็นที่ 3 (3318393)

Smart English เปิดสาขาใหม่แต่ต้นปี บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์

Smart English แฟรนไชส์โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่ ด้วยหลักสูตรที่ปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เน้นไวยากรณ์ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนแนวสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่เครียด เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่าย


จุดยืนที่เรายึดในการดำเนินการมาโดยตลอดว่าเราเป็นมืออาชีพในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก อายุ 6-13 ปี นับแต่ปี 2539 เป็นต้นมาที่เริ่มดำเนินการธุรกิจสอนพิเศษ(Tutor) จนกระทั่งในปี 2540-2541 ได้เข้าร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรียนรู้ในธุรกิจแฟรนไชส์ และเริ่มขายแฟรนไชส์ตั้งแต่ปี 2543 กระทั่งปัจจุบันมี 92 สาขา

เชื่อว่าการเติบโตของจำนวนสาขา เกิดจากตัวผู้ประกอบการมองที่การเติบโตของบริษัทว่ามีการเติบโตแบบต่อเนื่องหรือไม่ มีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งของสมาร์ทอิงลิช มีการเติบโตค่อนข้างต่อเนื่อง เขาจึงมองว่าเป็นส่วนที่สร้างความมั่นใจให้กับเขา คนที่เข้ามาเป็นแฟรนไชซีในธุรกิจการศึกษา จะคิดค่อนข้างมาก เพราะเป็นการลงทุนในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นคนที่ตั้งใจเข้ามาทำจริงๆ ไม่ใช่คนที่เข้ามาเพื่อแสวงหาผลกำไร บางคนไม่ได้มองเรื่องกำไรมาเป็นตัวตั้ง แต่รู้สึกสนุกกับการได้ทำ แล้วผลลัพธ์จะตามมาที่หลัง


ล่าสุดเปิดสาขาใหม่ รับปี 2553 สาขาบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ใครที่อยู่ใกล้ไปเรียนได้เลยจ้า..

ผู้แสดงความคิดเห็น ข่าวบางสะพาน บ้านกรูด วันที่ตอบ 2011-12-12 06:51:32


ความคิดเห็นที่ 4 (3318394)

คนบางสะพานค้าน “เปลี่ยนสีผังเมือง” เอื้อโครงการอุตสาหกรรมโดย chuwat เมื่อ 26 มิถุนายน 2011

เผยอุตสาหกรรมเหล็กยื่นขอเปลี่ยนผังเมืองจากพื้นที่เกษตร พื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้ ฯลฯ เป็นสีม่วง ชาวบ้านรวมตัวคัดค้าน “จิตนา” ชี้หลายโครงการมุ่งลงในพื้นที่ หวั่นผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ทำชุมชนล่มสลายจากมลพิษ 

25 มิ.ย.54 จากรณีที่คณะกรรมการผังเมืองระดับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้เปิดประชุมพิจารณาคำร้องเรื่องผังเมืองรวมชุมชนบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมองค์การบริหารจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่ได้ทำการปิดประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 90 วันไปแล้วนั้น


 

 
นายเสวก พิมสอ แกนนำกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์บางสะพานกล่าวว่า เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ประจวบคีรีขันธ์ ได้ไปร่วมกันติดตามเรื่องและอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมต่อกรณีดังกล่าว เพราะประเด็นใหญ่คืออุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานได้ยื่นขอเปลี่ยนสีผังเมืองจากพื้นที่เกษตร พื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้ พื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย พื้นที่อุตสาหกรรมประมง ซึ่งกินขอบเขตประมาณ 80% ของตำบลแม่รำพึง และประมาณ 60% ของตำบลกำเนิดนพคุณ ไปเป็นพื้นที่สีม่วงสำหรับทำอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
 
นายเสวกกล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวชาวบ้านยื่นคัดค้านทั้งหมด และเสนอให้เปลี่ยนพื้นที่อุตสาหกรรมเดิมบริเวณที่ก่อสร้างโรงถลุงเหล็กสหวิริยาให้เป็นพื้นที่เกษตร ด้วยเหตุผลคือมีการผนวกเอาบ้านและสวนมะพร้าวของชาวบ้านที่ไม่ต้องการขายที่ดินไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และเป็นการตัดโอกาสการพัฒนาที่ดินเพื่อการท่องเที่ยว
 
นอกจากนี้ สภาพพื้นที่ที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำเอ่อล้นจากป่าพรุแม่รำพึงและเป็นช่องไหลหลากของน้ำจากพื้นที่ใกล้เคียง เหมือนแก้มลิง การทำโรงถลุงเหล็กต้องปรับถมที่ดินให้สูงประมาณ 7 เมตร จึงกีดขวางทางน้ำและลดพื้นที่รองรับน้ำ ซ้ำเติมปัญหาน้ำท่วมในบางสะพานและพื้นที่ตำบลธงชัย บ้านกรูด ให้รุนแรงขึ้น
 
นายเสวก กล่าวด้วยว่า การทำผังเมืองที่ดีต้องช่วยแก้ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพ และยืนยันว่าการทำนิคมอุตสาหกรรมเหล็กที่บางสะพานสร้างความขัดแย้งทางสังคมมาโดยตลอด และมีประเด็นที่อุตสาหกรรมเหล็กอ้างว่าได้ทำสัญญาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมในการทำนิคมอุตสาหกรรมที่บางสะพานไว้แล้ว ซึ่งเครือข่ายจะต้องติดตามต่อไป
 
ส่วนนางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด กล่าวว่า การขยายพื้นที่อุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานจะเกิดผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในประจวบฯ โซนใต้ทั้งหมดตั้งแต่อำเภอทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย จากโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทับสะแก ปตท.จะทำคลังก๊าซ เพื่อเป็นฐานพลังงานป้อนอุตสาหกรรมเครือสหวิริยา พื้นที่อำเภอบางสะพานน้อย กฟผ.ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บ้านฝั่งแดงและบางเบิด ทำให้เห็นได้ว่าผลกระทบจะเกิดอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ แน่นอนว่าการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่บ้านกรูด พื้นที่เกษตร กิจการประมง ต้องถูกผลกระทบถึงขั้นล่มสลายจากมลพิษแน่นอน ดังนั้นจึงต้องช่วยกันคัดค้านพื้นที่อุตสาหกรรมบางสะพานไม่ให้มีเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่
 
นางจินตนา กล่าวแสดงความห่วงใยด้วยว่า คณะกรรมการผังเมืองระดับจังหวัดส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่โยกย้ายมาจากที่อื่นมาอยู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะไม่เข้าใจชาวบ้านที่ต้องอยู่ประจวบคีรีขันธ์ตลอดไป
 
“ถึงอุตสาหกรรมเหล็กจะไม่สามารถสร้างได้ที่บางสะพานก็ยังสามารถโยกย้ายไปที่อื่นได้เช่นปัจจุบันก็ไปซื้อกิจการโรงถลุงที่อังกฤษ เราก็ไม่ค้าน แต่ถ้าตั้งที่ข้างบ้านเรา พวกเรายืนยันคัดค้านจนถึงที่สุดแน่” นางจินตนากล่าว


กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูดกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์บางสะพานจินตนา แก้วขาวบางสะพานผังเมืองรวมชุมชนบางสะพานอุตสาหกรรมเหล็ก
ป้ายคำนักการเมือง แผนพัฒนาภาคใต้ น้ำท่วม โฉนดชุมชน ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) EIA เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จินตนา แก้วขาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภาคประชาชน แถลงการณ์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กระบวนการยุติธรรม

ผู้แสดงความคิดเห็น ข่าวบางสะพาน วันที่ตอบ 2011-12-12 07:07:27


ความคิดเห็นที่ 5 (3490687)

การดูแลสุขภาพก็เหมือนเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์ !!!

ผู้แสดงความคิดเห็น ยอดหญิง วันที่ตอบ 2016-09-21 13:15:23


ความคิดเห็นที่ 6 (4062568)

HACCP คือ Hazard Analysis Critical Control Point ความหมายคือ รายละเอียดการควบคุมและการนึกถึงอันตรายการผลิตอาหารเป็นหลักเกณฑ์ในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อความเชื่อใจและสนับสนุนคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร มุ่งเน้นควบคุมดูแลตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตจนถึงตัวสินค้าถึงมือผู้ซื้อเลยทีเดียวกิจการค้า โรงงานผลิตลิปสติก ปัจจุบันกำลังขยายอย่างยิ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น worawoot วันที่ตอบ 2017-06-30 10:39:17



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
Share