
แหล่งขุดร่อนทองที่ถือว่ามีทองคำเนื้อดีที่สุดของไทย
คือทองที่อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ บางสะพานนั้นเดิมชื่อเมืองกำเนิดนพคุณ ตั้งอยู่ที่ท่ามะนาว ฝั่งขวาของลำน้ำแม่รำพึง ต่อมาตั้งที่ท่ากะหลอ ปัจจุบันเรียกว่าบ้านหลักเมือง จนถูกยุบเป็นอ.เมืองนพคุณในที่สุด และย้ายมาตั้งริมอยู่ทางรถไฟเปลี่ยนชื่อเป็นอ.บางสะพาน ถือเป็นแหล่งกำเนิดแร่ทองคำเนื้อดีพ้องกับชื่อเดิมของอำเภอ ทองที่มีชื่อเสียงนั้นอยู่ในเขตหมู่บ้านป่าร่อน ต.ร่อนทอง และบริเวณที่มีการขุดทองมากที่สุดอยู่ที่บริเวณห้วยจังหัน ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 750-2,000 เมตร บางสะพานเป็นเมืองที่มีการขุดและร่อนทองเป็นครั้งแรกสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปลายยุคกรุงศรีอยุธยา พระองค์เกณฑ์ไพร่จำนวน 2,000 คน ไปร่อนทองที่บางสะพานเป็นเวลาปีเศษ ได้ทองคำหนัก 90 ชั่งเศษ เป็นน้ำหนัก 54 กิโลกรัม หรือ 3,600 บาท และนำทองทั้งหมดไปหุ้มยอดมณฑปรอยพระพุทธบาทสระบุรี แต่ยอดมณฑปนี้ถูกโจรจีนเผาหลอมทองเอาไปทั้งหมด เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 คุณสมบัติของ "ทองบางสะพาน" มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีจนมีผู้กล่าวกันว่า เป็นทองคำเนื้อดีที่สุดของเมืองไทยและในโลก ทองที่พบเป็นทองธรรมชาติ เห็นเป็นก้อน Nugget (ทองที่ขุดได้โดยไม่ต้องถลุง) อย่างชัดเจน เหลืองอร่าม สุกปลั่งและเนื้ออ่อน เป็นทองร้อยเปอร์เซ็นต์หรือทองเนื้อเก้า เรียกว่า "นพคุณเนื้อเก้า" เชื่อกันว่าสามารถป้องกันภยันตรายและภูตผีปีศาจได้ดี แต่ผู้ยึดอาชีพร่อนทองมีความเสี่ยงเนื่องจากจะต้องขุดดินเป็นหลุมลึก บางครั้งก็ตื้น มีโอกาสพบทองหรือไม่ไม่สามารถจะบอกล่วงหน้าได้ จากเอกสารและคำบอกเล่าของชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยยึดอาชีพขุดทอง ระบุว่าก่อนที่จะขุดทองต้องมีการบวงสรวงเจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น อาทิ ห้ามสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณหลุมที่ขุดทอง ห้ามผู้หญิงที่มีรอบเดือนเข้าไปในบริเวณหลุมที่ขุดทอง เมื่อพบทองแล้วห้ามเรียกคนอื่นให้มาขุดที่เดียวกัน เพราะจะไม่พบทองอีกเลย ห้ามใส่เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำไปขุด เพราะจะไม่พบทองคำเลย ใช้ขวดยานัตถุ์ผูกสะเอวเพื่อใส่ทองที่ร่อนได้ เนื่องจากมีขนาดเล็กและพกติดตัวได้สะดวก การค้นหาทองทำโดยการขุดดินจนกลายเป็นบ่อเพื่อนำดินขึ้นมาร่อนทองในน้ำ หรือใช้พลั่วตักดินในแม่น้ำแล้วนำมาใส่เรียงบนเครื่องมือที่ทำจากไม้ลักษณะคล้ายหมวกเวียดนาม เพื่อให้ดินหินแยกออกไป และวิธีการใช้แรงน้ำโดยใช้เครื่องสูบน้ำฉีดเข้าไปในดิน ให้ดินออกไปเหลือแต่ทองคำ นายกฤษดา หมวดน้อย อดีตสมาชิกสภาเทศบาลตำบลร่อนทองกล่าวว่า เมื่อ 20 ปีก่อนรัฐบาลเคยให้สัมปทานขุดทองที่บางสะพาน ในอดีตมีเหมืองทองถึง 12 เหมือง แต่ปัจจุบันกลายเป็นตำนานไปแล้ว เนื่องจากขุดกันจนหมดแล้วเลิกไป แต่หลังจากเหตุการณ์น้ำป่าถล่มบางสะพานครั้งล่าสุด น้ำป่าพัดพาเอาแร่ทองคำมาตามน้ำ หลังจากน้ำลดพบเศษทองคำแท้ขึ้นกระจายอยู่ตามริมคลองต่างๆ ชาวบ้านในพื้นที่ต่างออกมาร่อนทองกันอย่างคึกคัก โดยมีพ่อค้าทองเข้าไปรับซื้อถึงที่ ทำให้ยุคทองคำของบางสะพาน

ย้อนตำนานทองเนื้อเก้าที่ ‘บางสะพาน’
„ย้อนตำนานทองเนื้อเก้าที่ ‘บางสะพาน’ “พระธาตุเจดีย์สูงเสียดฟ้า มากคุณค่าทองเนื้อเก้า เด่นเรื่องราวการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวอุตสาหกรรมเหล็ก ชุมชนใหญ่เล็กรักสามัคคี ไหว้พระดีปู่อินทร์ปู่ท้วม” คำขวัญที่บ่งบอกถึงจุดเด่นของ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แบบเข้าใจได้ไม่ยาก วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557 เวลา 0:00 น. “พระธาตุเจดีย์สูงเสียดฟ้า มากคุณค่าทองเนื้อเก้า เด่นเรื่องราวการท่องเที่ยว หนึ่งเดียวอุตสาหกรรมเหล็ก ชุมชนใหญ่เล็กรักสามัคคี ไหว้พระดีปู่อินทร์ปู่ท้วม” คำขวัญที่บ่งบอกถึงจุดเด่นของ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แบบเข้าใจได้ไม่ยาก ทั้งที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่เพราะภูมิประเทศของประจวบคีรีขันธ์ที่ออกทางแนวยาว แหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างอย่างบางสะพานจึงอยู่ห่างจากจุดหมายยอดนิยมอย่างหัวหินไปอีกถึง180 กิโลเมตร และที่นี่คือเจ้าของตำนานทองบางสะพานที่ยังคงสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ณ ตำบลร่อนทอง ที่บ้านป่าร่อน ห่างจากอำเภอบางสะพานไปราว 16 กิโลเมตร ที่นี่คือแหล่งร่อนทองที่ว่ากันว่าเป็นทองเนื้อดีที่สุดในโลก ‘ทองบางตะพาน’ หรือ ‘ทองบางสะพาน’ เป็นทองที่ขึ้นชื่อมาก เพราะมีสีเหลืองอร่ามยิ่งใช้ยิ่งสุกปลั่ง เนื้ออ่อนกว่าทองร้อยเปอร์เซ็นต์ ทองนี้เวลาขุดได้จะมีดินปนอยู่บ้างแต่ไม่ต้องใช้กรรมวิธีถลุงให้เหนื่อยยาก “ทองบางสะพานมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทองนพคุณ เป็นทองเนื้อเก้า หมายถึง เป็นทองที่มีราคาเก้าบาทต่อน้ำหนัก 1 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าทุกแหล่งในประเทศไทย ในปัจจุบันยังคงมีการขุดหาทองอยู่ แต่เป็นการขุดหาด้วยมือ ดินในบ่อทองจะมีชื่อเรียกแต่ละชั้นแตกต่างกันออกไป” นายบุญญฤทธิ์ แดงรักษา ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง บอกเล่า ดินชั้นบนเรียกว่า “ดินเมือง” ต่อไปเป็น “ดินกรัง” ดินชั้นนี้อาจเรียกว่า “ดินหลังสะ” และลึกต่อลงไปเรียกว่า “ดินใช้” คือดินที่มีแร่ทองคำปนอยู่ชาวบ้านจะเอาดินใช้นี้มาแยกหาเนื้อทองโดยการใช้ภาชนะเรียกว่า “เลียง” เป็นภาชนะที่ทำด้วยไม้รูปกลมก้นแหลมคล้ายหมวกญวน ใส่ดินใช้แล้วนำไปขยำบี้กับน้ำให้เป็นโคลนแล้วเอียงเลียงให้น้ำในคลองพัดโคลนให้หมุนวนออกจากเลียงไปคงเหลือแต่สินแร่ทองลงอยู่ก้นเลียง โดยคลองที่เอาดินใช้ไปร่อนล้างมีชื่อว่าคลองทอง และด้วยเหตุที่มีสินทรัพย์เป็นทองนี้เองจึงทำให้บางสะพานเป็นอำเภอที่มีเศรษฐกิจที่ดีในระดับหนึ่งของประจวบคีรีขันธ์ นอกจากจะมีการร่อนทองด้วยวิธีการดั้งเดิมให้ชมแล้ว บางสะพานยังขึ้นชื่อว่ามีชายหาดอันสงบเงียบเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน ทั้งชายทะเลบ้านกรูดกับหาดทรายขาวละเอียดที่ยาวกว่า12 กิโลเมตร และน้ำทะเลสีครามที่ครั้งหนึ่งเคยมีผู้คนแห่แหนมาชมฉลามวาฬที่ว่ายเข้ามาใกล้ฝั่งจนมองเห็นได้จากชายหาด ขณะที่เกาะทะลุที่เห็นอยู่ไม่ไกลเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังที่เรียกได้ว่าสวยที่สุดในประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผลมาจากการร่วมแรงร่วมใจของชุมชน “บ้านกรูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชายหาดนี้จะไม่มีร่มหรือเก้าอี้ ไม่มีสิ่งเกะกะสายตาของนักท่องเที่ยว โดยได้ริเริ่มให้มีกิจกรรมการปั้นทรายเพื่อเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเนื่องจากชายหาดทะเลแถบจังหวัดประจวบทั้งหมดจะมีทรายละเอียดสวยงาม น่าสัมผัส สิ่งสำคัญคือการปั้นทรายไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการแล่นเรือใบซึ่งเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมาก” นายธงชัย เพชรสกุลทอง นายกเทศบาลตำบลบ้านกรูด บอกเหตุผล ด้าน นางสาวพสิษฐ์ ตาอินทร์พันธ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ททท.ได้ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านกรูด เชิญชวนร่วมงานประเพณีสงกรานต์และร่วมปั้นทรายใต้แสงจันทร์ ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ ชายหาดบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานที่ท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการผลักดันกิจกรรมท้องถิ่นการปั้นทรายของชายหาดบ้านกรูดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น นายธนดล ดีรุจิเจริญ และ นายกิตติ แสงแก้ว อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปกรรม เอกประติมากรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การปั้นทรายเป็นงานศิลปะที่เข้าถึงได้ง่าย เรียกได้ว่าช่วยให้เยาวชนได้ซึมซับเรื่องของงานศิลปะตั้งแต่เด็ก ๆ หัวใจของการปั้นหัวใจอยู่ที่น้ำและทราย การเลือกทรายเพื่อขึ้นรูปต้องใช้การเรียนรู้ธรรมชาติของทรายว่า ทรายบริเวณไหนของทะเลจึงจะขึ้นรูปได้ ส่วนไหนของรูปปั้นจะใช้ทรายแบบไหน การรดน้ำให้ทรายอยู่ตัวซึ่งทั้งหมดจะต้องอาศัยสมาธิ การใช้จินตนาการความอดทน และการเรียนรู้ นอกจากทรายสีขาวละเอียด น้ำทะเลสีครามสดใส ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวทิวทัศน์สวยงามแล้ว บ้านกรูดยังมีชุมชนประมงกระจัดกระจายตัวอยู่ตลอดชายหาด ชาวประมงที่นี่ยังคงยึดอาชีพประมงชายฝั่งด้วยเรือลำเล็ก ๆ ออกหากุ้ง หอย ปู ปลา รวมทั้งแมงกะพรุนที่จับส่งขายประเทศจีนด้วยวิถีดั้งเดิม ห่างไปไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของเขาธงชัยที่นอกจากจะเป็นจุดชมวิวแล้วบางคนยังขึ้นไปเพื่อกราบไหว้ขอพรกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวเรือ บริเวณพระตำหนักที่เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหันด้านหน้าออกสู่ทะเล ชาวบ้านเชื่อว่ากรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เคยเสด็จมาประทับบริเวณนี้เพื่อพักทอดสมอเรือรบ จึงมีการก่อสร้างสมอเรือจำลองไว้ที่หน้าพระตำหนักด้วย และด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ดีตามหลักฮวงจุ้ยเพราะมีลักษณะเป็นหัวมังกร โดยมีลำตัวบริเวณชายหาดบ้านกรูดทอดยาวจนไปสุดที่ปลายหางที่หาดแม่รำพึง โดยมียอดเขาธงชัยคล้ายกับหลังเต่าที่ยื่นออกมาในทะเล ซึ่งมังกรและเต่าตามตำราจีนถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐเป็นมงคล จึงทำให้ยอดเขาธงชัยเป็นสถานที่อันเหมาะสมที่จะสร้างปูชนียสถานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งก็คือ พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศเจดีย์และวิหารใหญ่ที่มีเรือนยอดเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธกิติสิริชัย หรือหลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปางสมาธิแบบศิลปะคันธาระ“

จุดร่อนทองบางสะพาน ที่ ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน (เกาะยายฉิม )
